เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [2. โพชฌังคสังยุต]
7. อานาปานวรรค (1) อัญญตรผลสูตร

7. อานาปานวรรค
หมวดว่าด้วยอานาปานสติ
1. อัฏฐิกมหัปผลสูตร
ว่าด้วยอัฏฐิกสัญญามีผลมาก

[238] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย อัฏฐิกสัญญา (ความหมายรู้ซากศพ
ที่ยังเหลืออยู่แต่ร่างกระดูกหรือกระดูกท่อน) ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว มีผลมาก
มีอานิสงส์มาก
อัฏฐิกสัญญาที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว มีผลมาก มีอานิสงส์มาก อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
1. เจริญสติสัมโพชฌงค์ที่สหรคตด้วยอัฏฐิกสัญญา อันอาศัยวิเวก
อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในโวสสัคคะ
ฯลฯ
7. เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่สหรคตด้วยอัฏฐิกสัญญา อันอาศัย
วิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในโวสสัคคะ
ภิกษุทั้งหลาย อัฏฐิกสัญญาที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว มีผลมาก มี
อานิสงส์มาก อย่างนี้แล”

(1) อัญญตรผลสูตร
ว่าด้วยอัฏฐิกสัญญามีผลอย่างใดอย่างหนึ่ง

“ภิกษุทั้งหลาย เมื่ออัฏฐิกสัญญาอันบุคคลเจริญ ทำให้มากแล้วพึงหวังผล
อย่าง 1 ใน 2 อย่าง คือ อรหัตตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีอุปาทานเหลืออยู่
ก็จักเป็นพระอนาคามี
เมื่ออัฏฐิกสัญญาอันบุคคลเจริญ ทำให้มากแล้วพึงหวังผลอย่าง 1 ใน
2 อย่าง คือ อรหัตตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีอุปาทานเหลืออยู่ก็จักเป็นพระ
อนาคามี อย่างไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 19 หน้า :189 }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [2. โพชฌังคสังยุต]
7. อานาปานวรรค (2) มหัตถสูตร

คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
1. เจริญสติสัมโพชฌงค์ที่สหรคตด้วยอัฏฐิกสัญญา ฯลฯ
7. เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่สหรคตด้วยอัฏฐิกสัญญา อันอาศัย
วิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในโวสสัคคะ
ภิกษุทั้งหลาย เมื่ออัฏฐิกสัญญาอันบุคคลเจริญ ทำให้มากแล้วพึงหวังผลอย่าง
1 ใน 2 อย่าง คือ อรหัตตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีอุปาทานเหลืออยู่ก็จัก
เป็นพระอนาคามี อย่างนี้แล”

(2) มหัตถสูตร
ว่าด้วยอัฏฐิกสัญญาเป็นไปเพื่อประโยชน์มาก

“ภิกษุทั้งหลาย อัฏฐิกสัญญาที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อ
ประโยชน์มาก1
อัฏฐิกสัญญาที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์มาก
อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
1. เจริญสติสัมโพชฌงค์ที่สหรคตด้วยอัฏฐิกสัญญา ฯลฯ
7. เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่สหรคตด้วยอัฏฐิกสัญญา อันอาศัย
วิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในโวสสัคคะ
ภิกษุทั้งหลาย อัฏฐิกสัญญาที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อ
ประโยชน์มาก อย่างนี้แล”